วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

(ลางร้ายของพระมหาอุปราชา)

๑๖(๑๔o)                พระฝืนทุกข์เทวษกล้ำ                แกล่ครวญ
                     ขับคชบทจรจวน                                  จักเพล้
                     บรรลุพนมทวน                                     เถื่อนที่ นั้นนา
                     เหตุอนาถหนักเอ้                                  อาจให้ชนเห็น
๑๗(๑๔๑)               เกิดเป็นหมอกมืดห้อง                 เวหา หนเฮย
                     ลมชื่อเวรัมภา                                       พัดคลุ้ม
                     หวนหอบหัฉัตรา                                   คชขาด ลงแฮ
                     แลธุลีกลัดกลุ้ม                                     เกลื่อนเพี้ยงจักรผัน
๑๘(๑๔๒)             พระพลันเห็นเหตุไซร้                    เสียวดวง แดเอย
                     ถนัดดั่งภูผาหลวง                                 ตกต้อง
                     กระหม่ากระเหม่นทรวง                         สั่นซีด พักตร์นา
                     หนักฤทัยท่านร้อง                                 เรียกให้โหรทาย 
๑๙(๑๔๓)             ทั้งหลายล้วนจบแจ้ง                     เจนไสย ศาสตร์แฮ
                     เห็นตระหนักแน่ใน                                 เหตุห้าว
                     จักทูลบ่ทูลไท                                       เกรงโทษ ท่านนา
                     เสนอแต่ดีกลบร้าว                                เกลื่อนร้ายกลายดี
๒o(๑๔๔)              เหตุนี้ผิวเช้าชั่ว                             ฉุกเข็ญ 
                     เกิดเมื่อยามเย็นดี                                  ดอกไท้
                     อย่าขุ่นอย้าลำเค็ญ                                ใจเจ็บ พระเอย
                     พระจักลุลาภได้                                      เผด็จเสี้ยนศึกสยาม



ถอดความ  

ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่

กษัตริย์ เห็นกองทัพยกมาก็ตกใจ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ เจ้าเมืองทราบข่าวศึกก็ตกใจมากจนขวัญไม่อยู่กับตัว ปรึกษากันแล้วก็เห็นว่าเมืองเรามีกำลังน้อย ต่อสู้ก็คงสู้ไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่าไป
ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ
กองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จะจับคนไทยมาสอบถามก็ไม่มีเลยสักคน จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมดแล้ว พระมหาอุปราชาจึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้

พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก ด้วยความหมกมุ่นในพระทัยก็ทรงระลึกถึงพระราชบิดาว่าถ้าพระองค์เสียโอรสให้แกข้าศึก จะต้องโทมนัสใหญ่หลวง เพราะเปรียบเหมือนพระองค์ถูกตัดพระพาหาทั้งสองข้างทีเดียว
การรบกับพระนเรศวรใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน
สงสารสมเด็จพระราชบิดา ที่จะต้องเปล่าเปลี่ยวพระทัย ทั้งพระองค์ก็ทรงชราภาพมากแล้ว เกรงจะพ่ายแพ้เสียทีแก่ชาวสยาม
สงครามครั้งนี้หนักใจนัก เรารู้สึกหนาวเหน็บอยู่ในใจ ลูกตายใครจะเก็บผีไปให้ คงจะถูกทิ้งอยู่ไม่มีใครเผา พระองค์จะอยู่ในพระนครแต่ลำพังพระองค์เดียว ไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ริเริ่มสงครามเพียงลำพังได้อย่างไร พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย

ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่า แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ



           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น